เลือกหน้า

อากาศที่ร้อนระอุในเมืองไทยนั้น ส่งผลให้บ้านหลายๆ มีอุณหภูมิร้อนอบออ้าวมากกว่าปกติ ซึ่งปัจจัยเสริมที่ทำให้บ้านร้อนก็คือสีของหลังคา โครงสร้างของบ้าน และวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง บ้านบางหลังอาจจะเลือกใช้หลังคาสีเข้ม หรือออกแบบเป็นหลังคาเตี้ย หรือใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่ป้องกันความร้อน บ้านเหล่านี้อาจจะมีอากาศที่ร้อนเป็นพิเศษ หากไม่มีเครื่องปรับอากาศก็คงจะอยู่อยากซักหน่อย

การพึ่งพาธรรมชาติเพื่อช่วยคลายร้อนให้กับบ้านอย่างการปลูกต้นไม้เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยเพิ่มอากาศบริสุทธิ์และความเย็นที่ได้ผลและใช้กันมายาวนาน แค่ต้องเลือกพันธุ์ไม้ให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่ สำหรับภายนอกตัวบ้านก็อาจเลือกปลูกต้นไม้ที่ค่อนข้างใหญ่ เพื่อช่วยปกป้องผนังบ้านจากแสดงแดดที่ส่องมาโดยตรงทำให้ตัวบ้านไม่เก็บความร้อยมากเกินไป แต่ถ้าต้องการเพิ่มความสดชื่นภายในบ้าน ก็มีหลายตัวเลือกให้นำไปตั้งในห้องนั่งเล่นได้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นพลูด่าง ยางอินเดีย เดหลี เฟิน ฯลฯ พันธุ์ไม้เหล่านี้จะช่วยปล่อยออกซิเจนออกมาทำให้อากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย แถมยังเพิ่มบรรยากาศผ่อนคลายด้วย

เลือกผ้าม่านให้ถูกประเภทก็ช่วยลดความร้อนที่มาจากแสงแดดได้เหมือนกันค่ะ โดยส่วนใหญ่นั้นแต่ละบ้านมักจะติดเฉพาะม่านกันแสงที่เป็นผ้าม่านผืนหนามีสีเข้ม ซึ่งม่านลักษณะนี้จะยิ่งเก็บความร้อนเมื่อโดนแสงแดดในเวลากลางวัน แต่ถ้าหากเพิ่มการติดม่านโปร่งแสงที่เป็นเนื้อผ้าสีขาวบางเบาไว้ด้านอกสำหรับใช้ในช่วงกลางวันแทน ก็จะช่วยกรองแสงแดดและไม่ดูดความร้อนเก็บไว้ด้วย ส่วนม่านกรองแสงหรือม่านม้วนซันสกรีนนั้นก็เป็นอีกตัวเลือกที่ประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับใครที่ไม่ต้องการติดม่านถึง 2 ชั้น เพราะม่านประเภทนี้จะช่วยกรองแสงได้ 80-90 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวค่ะ เมื่อภายในบ้านได้รับแสงแดดน้อยลงอุณหภูมิก็จะลดลงตามไปด้วยนั่นเอง

เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็เริ่มหันมาใช้หลอดไฟ LED กันมากขึ้นแล้ว โดยอีกเรื่องที่โดดเด่นเลยก็คือการปล่อยความร้อนออกมาในปริมาณที่น้อยกว่าหลอดไฟแบบอื่น ๆ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้บ้านมีอุณหภูมิสูงขึ้นและทำให้เครื่องปรับอากาศก็ยังต้องทำงานหนัก หลอดไฟ LED นั้นจะใช้พลังงานน้อยกว่า จึงปล่อยความร้อยนออกมาในปริมาณที่น้อย แถมแสงที่ได้ยังสบายตาและแน่นอนว่ายังช่วยประหยัดไฟมากกว่าด้วย

ร้อน ๆ แบบนี้ให้น้ำเป็นตัวช่วยเลยค่ะ ตั้งแต่การติดสปริงเกอร์บนหลังคาสำหรับบ้านที่ไม่มีฉนวนกันความร้อน ถ้าหากเปิดในช่วงกลางวันน้ำจะช่วยให้หลังคาที่ได้รับแสงแดดโดยตรงระบายความร้อนออกไปได้ ไม่ต้องเก็บสะสมและกระจายเข้าสู่ตัวบ้าน และน้ำที่ไหลลงมาจะช่วยระบายความร้อนบนพื้นรอบตัวบ้านได้อีกต่อด้วย อีกวิธีที่ไม่ต้องถึงขั้นติดสปริงเกอร์ก็คือการใช้น้ำฉีดตามบริเวณรอบ ๆ บ้าน ร่วมกับการคลายร้อนให้บ้านด้วยวิธีอื่น รับรองว่ายังไงอุณหภูมิในบ้านก็ลดลงแน่นอน

ฉนวนกันความร้อนแบบมวลมีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อน โดยเนื้อวัสดุจะมีค่าการนำความร้อนต่ำและมักจะเป็นวัสดุที่มีโพรงอากาศเล็กๆ ภายใน เพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อน ตัวอย่างฉนวนกันความร้อนประเภทนี้ เช่น ฉนวนใยแก้ว (Fiber Glass) โฟมโพลีสไตรีน (Polystyrene Foam/PS) โฟมโพลียูรีเทน (Polyurethane Foam/PU) และโฟมโพลีเอทธีลีน (Polyethylene Foam/PE)ส่วนฉนวนแบบสะท้อนความร้อน เป็นวัสดุที่มีความมันวาวใช้ในการสะท้อนความร้อนจากการแผ่รังสี เพื่อลดความร้อนไม่ให้ถูกดูดซับและทะลุผ่านเข้าไปในวัสดุ ตัวอย่างฉนวนแบบสะท้อนความร้อน เช่น แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminum Foil Sheet) และเซรามิคโค้ทติ้ง (Ceramic Coating)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายบน Social Media

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ ที่มีอยู่บน Social Media เพื่อให้ผมสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้ตรงกับความเหมาะสม และความสนใจของคุณได้ครับ หากคุณไม่ยินยอมให้ใช้คุกกี้นี้ ผมจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหา และโฆษณาได้ตรงตามความสนใจไปให้กับคุณบน Social Media ช่องทางต่างๆได้

บันทึกการตั้งค่า