เลือกหน้า

เรื่องรั้วบ้านกับเพื่อนบ้านข้างเคียงน่าจะเป็นปัญหาที่หลายๆคนอาจจะเคยปวดหัวกันมาบ้าง ยิ่งถ้ามีเรื่องกันถึงขั้นต้องฟ้องอะไรกันนี่อาจจะเสียเวลากันไปอีกเป็นปีเลยทีเดียว ขอพาคุณมารู้เรื่องเกี่ยวกฎหมายรั้วบ้านให้มากขึ้น ให้คุณกับเพื่อนบ้านของคุณเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกันไปนานๆนะครับ

ทำรั้วบ้าน ต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือไม่ ?
หลายท่านอาจคิดว่า “รั้วบ้าน” ไม่น่าจะต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะ “รั้ว” ไม่ใช่ “อาคาร” คนเข้าไปอยู่ไม่ได้ อย่างไรก็ตามกฎหมายควบคุมอาคารให้ความหมายของ “อาคาร” มากไปกว่าเพียงสิ่งก่อสร้างที่คนเข้าไปอยู่หรือใช้สอยได้เท่านั้น ดังนั้น จึงต้องดูว่า “รั้ว” ที่จะสร้างนั้นเข้าข่ายเป็น “อาคาร” ตามกฎหมายควบคุมอาคารหรือไม่ หากเข้าข่ายเป็น “อาคาร” ก็จะต้องมีการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง และสร้างให้เป็นตามข้อกำหนดอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนดให้ “อาคาร” หมายถึง “…ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึง รั้ว กำแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎกระทรวงกำหนด…” โดย กฎกระทรวงกำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเป็นอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 กำหนดให้สิ่งก่อสร้างใดก็ตามที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตร เข้าข่ายเป็น “อาคาร” ด้วย

เมื่อดูจากเนื้อความ (โดยเฉพาะที่เป็นตัวหนังสือสีแดง) ก็จะเห็นว่าหากรั้วบ้านนั้นสร้างติดต่อหรือใกล้กับที่สาธารณะ ก็จะถือเป็น “อาคาร” หรือหากไม่ได้สร้างติดต่อหรือใกล้กับที่สาธารณะแต่รั้วนั้นมีความสูงถึง 10 เมตร ก็จะถือเป็น “อาคาร” ตามกฎหมายควบคุมอาคารเช่นกัน (สำหรับคำว่า “ใกล้เคียง” ตามที่กฎหมายเขียนไว้ เบื้องต้นในทางปฏิบัติ หมายถึงแนวรั้วที่กั้นระหว่างที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ) ดังนั้น
– รั้วกั้นระหว่างเขตที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ จะต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะถือเป็น “อาคาร” ตามกฎหมาย
– รั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชนที่ติดกันและรั้วนั้นมีความสูงไม่ถึง 10 เมตร ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะไม่ถือเป็น “อาคาร” แต่หากรั้วนั้นมีความสูงถึง 10 เมตร ก็จะต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างเพราะเข้าข่ายเป็น “อาคาร”

หลักการสร้างรั้ว
การสร้างรั้วบ้าน นอกจากการขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายควบคุมอาคารแล้วยังมีหลักการสร้างรั้วที่ถูกต้องเพื่อให้ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาเช่น การสร้างรั้วล้ำเขตที่ดิน และสร้างรั้วสูงเกินไปจากที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

– รั้วที่อยู่มุมถนนสาธารณะซึ่งมีความกว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป และมีมุมหักน้อยกว่า 135 องศา เมื่อก่อสร้างต้องมีการปาดมุมรั้วโดยให้ส่วนที่ปาดมุมมีระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร และทำมุมกับแนวถนนสาธารณะ เป็นมุมเท่าๆ กัน

– รั้วที่สร้างขึ้นโดยมีพื้นที่ติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้ว ให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ แต่หากความสูงไม่เป็นไปตามที่ผ่อนผันไว้ การสร้างรั้วจะต้องมีระยะถอยร่น จากถนนสาธารณะ โดยในเขตกรุงเทพมหานคร มีข้อกำหนดคือหากถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ความสูงรั้วในด้านที่ยอมให้สร้างชิดเขตถนนสาธารณะจะถูกจำกัดให้มีความสูงได้ไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น

– การสร้างรั้วจะต้องไม่สร้างเกินเขตที่ดินของตนเอง ซึ่งเขตที่ดินในที่นี้มีความหมายรวมถึงพื้นที่ทั้งใต้ดินและบนอากาศ ดังนั้นการสร้างรั้วจึงนิยมทำฐานรากรั้วด้วยฐานรากตีนเป็ด และติดตั้งตัวเสารั้วไม่ให้เอียงล้ำแนวที่ดินที่มีอยู่

– การสร้างรั้วกั้นแนวเขตที่ดินระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน หากตกลงกันได้ก็สามารถสร้างรั้วกั้นโดยให้เส้นเขตที่ดินอยู่กึ่งกลางรั้วได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายบน Social Media

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ ที่มีอยู่บน Social Media เพื่อให้ผมสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้ตรงกับความเหมาะสม และความสนใจของคุณได้ครับ หากคุณไม่ยินยอมให้ใช้คุกกี้นี้ ผมจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหา และโฆษณาได้ตรงตามความสนใจไปให้กับคุณบน Social Media ช่องทางต่างๆได้

บันทึกการตั้งค่า