เลือกหน้า

ถังบำบัดน้ำเสีย เป็นอีกปัญหากังวลใจของเจ้าของบ้าน เพราะหลายบ้านพบกับปัญหาหากขาดการตรวจสอบไม่ว่าจะเป็นเศษขยะ เศษปูน อิฐ โฟม ซึ่งถังบำบัด มีไว้บำบัดสิ่งปฏิกูลที่มาจากชักโครก หรือโถส้วม และเมื่อสิ่งปฏิกูลลงมาที่ถังบำบัดก็จะมีเจ้าจุลินทรีย์คอยย่อยสลายสิ่งปฏิกูล ส่วนน้ำที่บำบัดแล้ว ก็จะไหลออกจากถัง ไปสู่ท่อสาธารณะต่อไป จึงอยากมาแนะนำวิธีการดูแลเพื่อลดปัญหาเหล่านี้

เจ้าของบ้านหลายคนที่เคยอยู่อาศัยในบ้านหลังเก่าอายุเกินกว่า 20 ปีอาจคุ้นชินกับการเรียกใช้บริการสูบส้วมเมื่อเกิดปัญหาส้วมเต็ม ต่อมาเมื่อได้ย้ายมาอาศัยในบ้านหลังใหม่ซึ่งมีระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป บางคนเจอปัญหากดชักโครกไม่ลง ในขณะที่บางคนใช้ห้องน้ำได้ราบรื่นดี แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดมักจะมีคำถามว่าควรเรียกใช้บริการสูบส้วมเหมือนเช่นเคยหรือไม่

อันที่จริงแล้วการสูบส้วมนั้น จะทำกับระบบบำบัดน้ำเสียแบบดั้งเดิมคือ ระบบบ่อเกรอะ-บ่อซึม โดยการทำงานของบ่อเกรอะ-บ่อซึม น้ำเสียและกากของเสียจะไหลเข้าไปยังบ่อเกรอะก่อน กากของเสียจะตกตะกอนอยู่ในบ่อเกรอะและมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย ส่วนน้ำจะไหลต่อไปยังบ่อซึมแล้วค่อยๆ ซึมออกสู่ดิน แต่หากดินในบริเวณนั้นมีน้ำใต้ดินอยู่มากโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน น้ำในบ่อซึมจะซึมออกไม่ได้ ทำให้บ่อทั้งสองเต็ม จึงต้องดำเนินการสูบส้วมออกเพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ

ถังบำบัดน้ำเสีย

เศษขยะ เศษปูน อิฐ โฟม
บ้านใหม่ ขยะไม่ใช่ของคนที่มาซื้อบ้านแน่นอน ขยะพวกนี้ก็มาจากเศษวัสดุก่อสร้าง และขยะจากคนงานก่อสร้าง หรือช่างโครงการ หากไม่มีกฎระเบียบ หรือข้อบังคับที่เด็ดขาด ก็จะเจอแบบนี้ ส่วนใหญ่เกิดกับโครงการขนาดเล็ก เนื่องจากการควบคุมคุณภาพอาจยังไม่ดีพอ แล้วเจ้าจุลินทรีย์ จะย่อยลำบาก เมื่อย่อยไม่ได้ จึงจำเป็นต้องเอาออกมาอย่างเดียว และถ้าไม่ได้ตรวจ หรือไม่ได้เอาออก อาจส่งผลเสีย ทำให้เกิดการอุดตันได้ในภายหลัง

ท่อ หรือระบบที่ไม่เกี่ยวข้อง
ระบบที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น ท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างหน้า โผล่เข้ามาในถังบำบัด ปัญหาที่พบ คือ ถ้าคุณล้างหน้า แปรงฟัน จะมีความสุขมาก เพราะกลิ่นจากถังส้วมอาจลอยมาตามท่อให้คุณได้สัมผัสกลิ่นอันหอมหวล จะทำให้ห้องน้ำคุณมีกลิ่นตลอด และกลิ่นแรงซะด้วย ต่อตรงขนาดนี้

ถังบำบัดน้ำเสีย

ดังนั้น กรณีท่อน้ำทิ้งที่ไม่ได้มาจากชักโครก เช่นท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างหน้า พื้นห้องน้ำ ควรไปลงที่บ่อพัก แล้วไปออกสู่ท่อสาธารณะ เพราะไม่ต้องการบำบัด และหากต่อลงถังบำบัด ปัญหาอีกอย่างคือ เวลาล้างห้องน้ำ โดยใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ เจ้าน้ำยา ซึ่งเป็นกรด จะไปฆ่าจุลินทรีย์ในถังบำบัด ทำให้จุลินทรีย์ตาย การย่อยสลายสิ่งปฎิกูลก็อาจทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร จำเป็นต้องเติมจุลินทรีย์บ่อย ๆ ภาพตัวอย่างท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างหน้าต่อเข้าถังบำบัด

อีกกรณีหนึ่ง คือ ต่อท่อจากครัว เข้าถังบำบัด ซึ่งน้ำทิ้งจากครัว ปกติจะมีเศษอาหาร และไขมันจำนวนมาก ดังนั้นควรจะไปต่อลงที่ถังดักไขมัน (Grease Tap) ซึ่งจะทำการดักไขมัน พอปริมาณมาก เจ้าของบ้านก็ต้องมาตักไปทิ้ง แต่ถ้าต่อเข้าถังบำบัดก็จะจับตัวเป็นก้อน ๆ และไปอุดตันในท่อ ทำให้อาจกดชักโครกยาก หรือกดไม่ลงได้ภาพตัวอย่างถังบำบัดที่มีท่อจากครัวต่อเข้ามา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายบน Social Media

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ ที่มีอยู่บน Social Media เพื่อให้ผมสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้ตรงกับความเหมาะสม และความสนใจของคุณได้ครับ หากคุณไม่ยินยอมให้ใช้คุกกี้นี้ ผมจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหา และโฆษณาได้ตรงตามความสนใจไปให้กับคุณบน Social Media ช่องทางต่างๆได้

บันทึกการตั้งค่า