บ้านทรุดนั้นเป็นปัญหาที่หลายบ้านต้องเคยพบเจอ ซึ่งมีสาเหตุการทรุดที่แตกต่างกันออกไปค่ะ แต่ละสาเหตุนั้นก็มีวิธีการแก้ไขไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราควรมั่นใจว่าบ้านเรานั้นทรุดด้วยสาเหตุอะไรเพื่อที่จะดำเนินการแก้ไขให้ถูกจุดค่ะ
ก่อนที่เราจะรู้ว่าต้องทำอะไรก่อนดี อย่างแรกที่เราต้องทำคือดูสภาพแวดล้อมรอบข้างบริเวณพื้นที่รอบๆบ้านของเราว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง โดยขั้นตอนดังนี้
ทางเข้าบ้าน อย่างแรกคือถนนสาธารณะหรือทางเข้าบ้าน โดยปกติถ้าเรายังไม่ได้ทำอะไรกับพื้นที่ ที่ของเราจะมีระดับที่ต่ำกว่าถนนสาธารณะ และถ้ารอบข้างมีเพื่อนบ้านอยู่ในส่วนของพื้นที่ของเพื่อนบ้านอาจจะสูงกว่าตัวที่ของเรา ทำให้ที่ของเราต่ำกว่าถนนและบ้านข้าง ๆ ดังนั้นเราจึงต้องทำการถมที่ก่อที่จะสร้างบ้าน อาจจะถมในระดับเดียวกับถนนหรือสูงกว่าถนน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวเจ้าของบ้านด้วยค่ะ
ถมดินก่อนดีไหม? กับคำถามที่พบเจอบ่อยคือ เราจะถมที่ก่อนดีไหม ถ้าหากว่าที่ของเราต่ำกว่าระดับถนน เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ตัวบ้านเราก้ควรถมไว้ และควรถมไว้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี เพราะยิ่งถมดินไว้นาน ๆ จะยิ่งทำให้ดินเซ็ตตัวได้ที่ทำให้เวลาที่เราสร้าบ้าน บ้านจะไม่ทรุดตัวตามดิน
สร้างบ้านก่อนดีไหม? ทำแบบไหนก่อนดี ทำรั่วหรือถมดินก่อนดีไหม? คำถามที่พบเจอได้บ่อย ๆ ก่อนที่เราจะลงมือสร้าง เราต้องดูพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ก่อนว่าบ้านของเราที่จะสร้างต่ำกว่าสูงกว่าหรือเท่ากันกับถนน ซึ่งถ้าหากพอดีกว่าถนนแล้วเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการถมดินเพิ่ม เพราะจะทำให้ทำการก่อสร้างยากมากขึ้น หรือทำรั้วก่อนก้ได้ ไม่ใช่ปัญหาในการสร้างตัวบ้าน แต่ก่อนที่จะทำรั้วต้องดูระดับก่อนว่าเจ้าขงบ้านพึงพอใจแล้วหรือยัง
ทำรั้วก่อนดีไหม? การทำรั้วคือการสร้างอาณาเขตให้รู้ว่าพื้นที่ตรงนี้มีเจ้าของ โดยปกติแล้วบ้านเราส่วนมากมักจะทำรั้วก่อนแล้วตามด้วยการถมที่และสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งการทำรั้วก่อนก็สามารถทำได้ค่ะแต่เราต้องดูด้วยว่าเราพอใจกับระดับรั้วแล้วหรือยัง หรืออาจจะทำไว้แค่รั้วหนามเพื่อป้องกันการรุกรานของบ้านข้างๆและทำรั้วใหม่อีกทีหลังทำบ้านเสร็จแบบนี้ก็ได้เหมือนกันค่ะ
บางพื้นที่ตั้งอยู่ในจุดที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เวลาน้ำลดแล้วจะทำให้เกิดการชะหน้าดินหายไปทำให้ระดับดินลดลง ส่งผลให้เกิดหลุมโพรงใต้คานคอดินค่ะ แต่จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของบ้าน เพราะโดยปกติแล้วเสาเข็มจะเป็นตัวรับน้ำหนักของตัวบ้าน แม้ว่าจะมีการขุดดิน หน้าดินลดลง หรือสูบน้ำใต้ดินเล็กน้อยจะไม่ได้ทำให้เกิดการทรุดตัวมากนักนะคะ
ในกรณีพื้นที่ดินข้างเคียงมีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำอย่างมาก เช่น สูบน้ำออกจากบ่อขนาดใหญ่, มีการขุดคลองด้านข้าง หรือขุดดินออกเป็นปริมาณมากอาจจะทำให้พื้นที่ดินมีการทรุดตัวเกิดขึ้นได้ ถ้าเป็นสาเหตุนี้จะทำให้ส่งผลกระทบกับโครงสร้างบ้านรากของบ้านได้ค่ะ